พฤติกรรมสุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลใน การกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติตนทางด้านสุขภาพด้านต่าง ๆ คือสุขภาพกาย จิตใจ/อารมณ์ และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง
การดูแลสุขภาพของตนเองที่ดีนั้นจะต้องเริ่มจากการดูแลสุขภาพตนเองอย่างต่อเนื่องก่อน
ซึ่งอาจมีปัจจัยด้านต่าง ๆ มาประกอบกัน
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหลักความรับผิดชอบต่อตนเอง แรงจูงใจ
และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ล้วนเป็นกระบวนการในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเอง
เพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพของตนเอง ไม่เกิดการเจ็บป่วย
ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพให้กับครอบครัว เครือข่ายทางสังคม และชุมชน
ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีปัจจัยเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นซึ่งนอกจากจะมีผลกระทบต่อตัวบุคคลผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงแล้วยังส่งผลกระทบไปถึงครอบครัว ชุมชน
และสังคมด้วย
ปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และแนวการป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ
1.1. พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ หมายถึง พฤติกรรมการกระทำของบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้
1.พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
2.พฤติกรรมการติดสารเสพติด
3.พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
1.2.
ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ หมายถึง สถานการณ์ การกระทำ
หรือสิ่งแวดล้อมที่มีผลให้ประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค ได้แก่
1.พันธุกรรม
2.สิ่งแวดล้อม
3.เศรษฐกิจ
ประเภทของพฤติกรรมเสี่ยง
1.พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
2.พฤติกรรมความรุนแรง
3.ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
4.พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
5.พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในวัยกลางคน
การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง
1.การให้ความรู้
ที่จำเป็นสำหรับวัยรุ่น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงตนเองในวัยรุ่น
2.การฝึกทักษะ
ในการรู้จักอารมณ์และความคิดตนเอง
จัดการกับอารมณ์ได้
จัดการอารมณ์เพศตนเอง
การแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิต
3.สร้างความตระหนักในการป้องกันความเสี่ยง จริงจังต่อการป้องกันตนเอง เห็นประโยชน์ของการป้องกัน และเห็นโทษหรือพิษภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง
4.ฝึกการควบคุมตนเอง ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง การรู้จักจิตใจตนเองและควบคุมได้
5.ช่วยให้วัยรุ่นมีกิจกรรมที่ทำให้ตนเองพึงพอใจที่ถูกต้อง
ความสำคัญของพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันโรค
และการดำรงสุขภาพ
หากเราได้ฝึกสุขนิสัยหรือการปฏิบัติด้านสุขภาพที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา เช่น
การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
การออกกำลังกายที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ
การไม่สูบบุหรี่
การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การบริหารจัดการความเครียดที่ถูกต้อง
ฯลฯ
สุขนิสัยที่ดีจะติดตัวเราจนถึงโต
และจำทำให้มีสุขภาพดี แข็งแรง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
พฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพ
1.อดอาหารเช้า
หรือกินอาหารไม่ตรงเวลา
2.
รับประทานแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์
3.
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
4.
ดื่มน้ำมากเกินไป
5.
นอนดึก
6.
อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป
7. ไม่อาบน้ำก่อนนอน
8. ไม่ออกกำลังกาย
9.ทำงานหนักเกินไป
10.
สูบบุหรี่
สรุปแล้วจะเห็นว่า
พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมีทั้งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการเกิดปัญหาสุขภาพ
แต่พฤติกรรมที่สำคัญและจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้มาก คือ
พฤติกรรมสุขภาพที่ปฏิบัติขณะยังมีสุขภาพดี ในขณะเดียวกันพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ
ที่ถือเป็นพฤติกรรมทางด้านลบที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ
จำเป็นต้องรีบดำเนินการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ต้นเหตุ
และเป็นการจัดการกับปัญหาสุขภาพแนวใหม่ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น